วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แนะนำ Access 2010


Microsoft Access 2010 เป็นหนึ่งโปรแกรมที่อยู่ในชุด Microsoft Office 2010  เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้งานหลายคนให้ความสนใจ แต่มีผู้ใช้บางส่วนรู้สึกว่า  Access  ใช้งานยากมันอาจเป็นเพราะตำราที่มีวางขายในปัจจุบันไม่ได้ปูพื้นฐานก่อนนั้นเอง ทำให้หลายๆ คนเบือนหน้าหนี  Access  อย่างหน้าเสียดาย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว Access ใช้งานไม่อยากนัก หากใช้เป็นจะเพิ่มพูนประสิทธิภาพของงานได้เป็นอย่างมาก

ฐานข้อมูล
                ก่อนใช้งาน Access เราควรรู้จักกับคำว่า ฐานข้อมูล (Database)  ซึ่งหมายถึง วิธีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบและเป็นระบบ  โดยใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นตัวช่วย  เราสามารถเพิ่มข้อมูล ลบข้อมูล สืบค้นข้อมูล แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว
                ตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่เห็นได้ชัดเจน  ระบบขายสินค้าในร้านค้าปลีกสมัยใหม่  ซึ่งมีการจัดเก็บสินค้าแยกเป็นหมวดหมู่  มีการกำหนดรหัสสินค้า  และมีการกำหนดราคาและส่วนลดอย่างชัดเจน  ในขณะที่เราซื้อสินค้าก็จะมีพนักงานขายจะใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด  เพื่อจะได้ทราบชื่อสินค้าและราคา  รวมทั้งคิดเงินได้ถูกต้องและรวดเร็ว

รู้จักกับ Access
                Access  เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดการกับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Database)  ประกอบไปด้วยตารางหลายๆ  ตารางที่มีความสัมพันธ์กัน  เช่น  ตารางเก็บประวัติคนป่วย  กับข้อมูลของผู้ป่วยความสัมพันธ์กันผ่านทางความสัมพันธ์  เป็นต้น

               จุดเด่นของ  Access  (เมื่อเปรียบเทียบกับโปรแกรมเดียวกัน)  และมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน  เหมาะสำหรับการจัดการข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์  ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูล  การคำนวณค่า  การนำข้อมูลมาวิเคราะห์  การจัดทำรายงานสรุป  และเขียนโปรแกรมเพื่อพัฒนาเป็นแอพพลิเคชันที่ทำงานได้หลายมากขึ้นต่อไป
วิธีเก็บข้อมูลใน  Access
                Access  เก็บข้อมูลต่างๆ  ลงในตาราง ซึ่งประกอบด้วยแถว  (Row)  และคอลัมน์  (Column)  โดยเรียกข้อมูลในแต่ละคอลัมน์ของตารางว่า  ฟิลด์  (Field)  และเรียกแถวในตารางว่า  เร็คคอร์ด  (Record)


                ในฐานข้อมูลของ  Access  จะประกอบไปด้วยหลายๆ  ตาราง  โดยตารางในฐานข้อมูลจะมีการเชื่อมโยงหรือมีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะสำคัญของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  (Relational  Database)    นั่นเอง  สำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้นมีคำศัพท์ที่ควรทำความรู้จักอยู่  3  ส่วน  ได้แก่  Entity,  Attribute,  และ  Relation
·       Entity (เอนทิตี) คือ  สิ่งที่เรียกสิ่งที่อ้างถึงในฐานข้อมูล  เช่น  ลูกค้า  สินค้า  พนักงานขาย  ฯลฯ  โดยแต่ละ  Entity  จะต้องเป็นอิสระต่อกัน  แต่สามารถมีความสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ ได้
·       Attribute  (แอตทริบิวต์)  คือ  สิ่งที่ใช้อธิบายรายละเอียดของแต่ละ  Entity  เช่น  หากกล่าวถึงเอนทิตี
ลูกค้า
·         ชื่อ
·         นามสกุล
·         เบอร์โทรศัพท์


·       Relation  (ความสัมพันธ์)  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่าง  Entity  ด้วยกัน  เช่น  ฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า  เอนทิตีลูกค้าจะมีความสัมพันธ์กับเอนทิตีสินค้าผ่านความสัมพันธ์ที่เรียกว่า  คำสั่งซื้อ

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิธีสร้างแบบฟอร์ม

เมื่อได้สร้างตารางไปเรียบร้อยแล้ว  เราก็สามารถกรอกข้อมูลลงไปในตารางได้เลย  แต่การกรอกข้อมูลลงในตารางจะไม่ค่อยสะดวกเท่าใด  โดยเฉพาะผู้ที่ไม่ได้เป็นคนสร้างฐานข้อมูลขึ้นมาอาจรู้สึกสับสนเกี่ยวกับฟิลด์หรือเร็คคอร์ดต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว  เราจึงควรสร้างแบบฟอร์มขึ้นมา  เพื่อให้สามารถกรอกข้อมูลต่างๆ  ได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น

สร้างฟอร์มสำหรับกรอกข้อมูล
                การกรอกข้อมูลสินค้าลงในตารางเป็นงานที่ค่อนข้างจะเสียเวลา  เพราะแพทย์แต่ละคนจะมีรหัสประจำตัวที่มักเป็นตัวเลข  หรือตัวอักษรที่ค่อนข้างซับซ้อน  การสร้างฟอร์มช่วยอำนวยความสะดวกต่อคนกรอกข้อมูลได้เป็นอย่างดี

                Access 2010  ได้ปรับปรุงเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลใน  Layout View  โดยได้นำเอาคำสั่งที่เกี่ยวข้องไปเก็บไว้ใน  Form Layout Tools  ซึ่งช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างมาก  ดังแสดงในตัวอย่างต่อไปนี้







แก้ไขฟอร์ม
                เมื่อได้สร้างฟอร์มไปเป็นที่เรียบร้อย  หากต้องการปรับแต่ง เช่น  เปลี่ยนคำอธิบายส่วนต่างๆ  ให้เป็นภาษาไทย  ขยับปรับเปลี่ยนหน้าตา  เพิ่มฟิลด์  หรือเพิ่มสิ่งจำเป็นอื่นๆ  เช่น  ปุ่มคำสั่ง  ก็สามารถปรับแต่งได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

จัดเรียงและปรับแต่งฟอร์ม
                การปรับแต่งฟอร์มด้วยวิธีพื้นฐานที่ดีที่สุด  คือ  การปรับแต่งในมุมมอง มุมมองเค้าโครง  ซึ่งในมุมมองนี้การจัดเรียงสิ่งต่างๆ  บนฟอร์มของ ฟอร์ม จะอยู่ในรูปของตาราง  เราจึงสามารถจัดเรียงสิ่งต่างๆ  บนฟอร์มด้วยวิธีการเดียวกับการจัดการตาราง








กรอกข้อมูลในตาราง

กรอกข้อมูลในตาราง
                เมื่อได้สร้างตารางครบตามต้องการแล้ว ก็ให้ทดลองกรอกข้อมูลลงในตาราง ดังนี้

ความสัมพันธ์ของแต่ละตาราง

                ดังที่กล่าวไปแล้วว่า Access  เป็นระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์  นั่นหมายความว่า  ตารางแต่ละตารางต้องมีความสัมพันธ์กัน  ซึ่งวิธีกำหนดความสัมพันธ์มีรายละเอียดดังนี้









สร้างฟิลด์ที่ใช้คำนวณ

สร้างฟิลด์ที่ใช้คำนวณ
                การคำนวณค่า  โดยนำข้อมูลจากฟิลด์หนึ่งไปคำนวณกับอีกฟิลด์หนึ่ง  แล้วเก็บผลลัพธ์ไว้ในอีกฟิลด์หนึ่งนั้น  Access  2010  ได้เพิ่มความสะดวกให้เรามากขึ้น  โดยสามารถสร้างฟิลด์ให้สำหรับคำนวณค่าได้ง่ายๆ  ดังนี้





สร้างตารางอย่างรวดเร็วด้วย Quick Start


สร้างตารางอย่างรวดเร็วด้วย  Quick  Start
                Access  2010  ได้เพิ่มความสะดวกในการสร้างตาราง  โดยได้เตรียมกลุ่มของฟิลด์มาให้  เช่น  หากต้องการสร้างฟิลด์เกี่ยวกับที่อยู่  เช่น  บ้านเลขที่  เมือง  ประเทศ  เราก็ไม่จำเป็นต้องมาเสียเวลาสร้างทีละฟิลด์  เพราะสามารถสร้างมาทั้งหมดได้อย่างรวดเร็วด้วย  Quick  Start  ดังตัวอย่างต่อไปนี้




บันทึกฟิลด์ที่ใช้งานบ่อยๆ  เก็บไว้เพื่อให้ง่ายสำหรับงานครั้งต่อไป
                ในกรณีเรามีกลุ่มฟิลด์ที่ใช้งานบ่อยๆ  เช่น  ชื่อ  ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  เราสามารถจัดทำกลุ่มฟิลด์เหล่านี้ไปเก็บใน  Quick  Start  ซึ่งภายหลังหากต้องการใช้อีก  ก็สามารถเลือกจาก  Quick  Start  ได้ทันที



วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กำหนดเงื่อนไขในการกรอกข้อมูล

กำหนดเงื่อนไขในการกรอกข้อมูล
                ในการกรอกข้อมูลลงในฐานข้อมูล  เราอาจต้องกำหนดเงื่อนไข  เช่น  อนุญาตให้ใส่ค่าได้บางคำหรือเลือกได้เฉพาะจากรายการที่กำหนด  ซึ่งวิธีกำหนดเงื่อนไขในการกรอกข้อมูลทำได้ดังนี้










วิธีการสร้างตารางใน Access 2010


วิธีการสร้างตารางใน  Access  2010
                วิธีสร้างตารางใน  Access  2010  ได้ถูกปรับโฉมและวิธีการให้สะดวกยิ่งขึ้น  โดยเราสามารถสร้างฟิลด์ใหม่ได้หลายวิธี  โดยวิธีแรกให้ทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้





จากตัวอย่างจะเป็นวิธีการสร้างตารางจากการคลิกปุ่ม คลิกเพื่อเพิ่ม  ซึ่งปรากฏอยู่ด้านท้ายหรือถ้าใครคิดว่าไม่สะดวก  ก็สามารถเลือกใช้วิธีการดังต่อไปนี้แทนก็ได้